ทำไมต้องสอบเทียบ ? Why need calibration?

“ทำไมต้องสอบเทียบ?”
          คำถามยอดฮิตที่มีคนตั้งคำถามมากมายว่าทำไมต้องทำการสอบเทียบเครื่องมือวัด ก่อนอื่นต้องขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนและใกล้ตัวเราที่สุด เช่น นาฬิกาข้อมือที่ใช้กันอยู่ทุกวัน เคยสังเกตบ้างไหมว่าในตอนที่ซื้อนาฬิกามา เราจะทำการปรับตั้งเวลาให้ถูกต้องกับเวลามาตรฐาน แต่่เมื่อใช้ไปซักพักนาฬิกาอาจบอกเวลาช้าหรือเร็วกว่าปกติ ทั้งที่แบตเตอร์รี่ของนาฬิกายังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี นอกจากนี้บ่อยครั้งที่ ต้องทำการตรวจสอบว่านาฬิกายังคงบอกเวลาที่ถูกต้องอยู่หรือไม่ โดยอาจเทียบกับเวลาเคารพธงชาตื 08.00 น. หรือ 18.00 น. หรือเทียบกับเวลามาตรฐาน ที่หมายเลขโทรศัพท์ 181 ซึ่งการตรวจสอบนี้จะกระทำเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่านาฬิกาของเรายังคงบอกเวลาได้ถูกต้องอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากว่าถ้านาฬิกาสามารถบอกเวลาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ย่อมจะไม่กระทบต่อกิจกรรมและการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานต่างๆ ประสพความสำเร็จได้อย่างราบรื่น เช่น การประชุม , การนัดหมาย หรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น”
          เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสหกรรมก็เช่นกัน โรงงานอุตสหกรรมก็จะมีกระบวนการในการตรวจสอบ และสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่ายความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้และกำหนดไว้ เพื่อให้ได้มาตรฐาาก่อนนำออกจำหน่าย เมื่อภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ สั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าว ก็จะได้รับรองผลการตรวจสอบ (inspection certificate) หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ (colibration certificate) เครื่องมือวัดนั้นๆ มาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการสั่งซื้อ โดนในใบรับรองผลการตรวจสอบหรือผลการสอบเทียบจะระบุสมบัติเฉพาัะต่างๆ ของเครื่องมือ เช่น พิสัยการวัด (range) , ค่าความละเอียด (resolution) , ค่าความถูกต้อง (accuracy) และสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นที่เครื่องมือสามารถทำงานได้ เป็นต้น
          แต่เครื่องมือถูกนำไปใช้งานระยะหนึ่ง อายุของส่วนประกอบและเครื่องมือวัดที่ใช้งานอาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหรือความคลาดเคลื่อนของผลการวัดที่เกิดขึ้นนี้ อาจเกิดจากการ Drift หรือการลอยเลื่อน (มอก. 235 เล่ม 14) หมายถึง การแปรผันอย่างช้าๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัด อันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น อุณหภูมิ , ไฟฟ้า , เคมี หรือช่างกล เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษาอีกด้วย ฉะนั้น เมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมาคือเครื่องมือวัดที่เคยบอกค่าการวัดที่ถูกต้อง อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือ หรือหากนำเครื่องมือดีงกล่าวไปใช้งานในกระบวนการผลิตย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการออกแบบ และกระบวนการผลิต การ Drift หรือการเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด ไม่สามารถกำจัดได้ แต่สามารถที่จะตรวจพบและแก้ไขได้โดยผ่านกระบวนการสอบเทียบ ด้วยการใช้ตัวมาตรฐานการวัดที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติเพื่อสอบเทียบ ให้กับเครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต
          ดังนั้นการสอบเทียบจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยสร้างความมั่นใจในผลการวัดของเครื่องมือวัดทุกๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต การทดสอบ และการวิเคราะห์ต่างๆ เพราะองค์ประกอบ ที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ผลการวัดที่เกิดขึ้นเป็นที่เชื่อถือได้ คือการใช้เึครื่องมือวัดที่มีความถูกต้องและแม่นยำ เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั่นเอง

องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด
          องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน IOS/IEC 17025 ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ เครื่องมือวัดอ้่างอิง (reference standards equipment) , ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (laboratory) , บุคลากรผู้ทำหน้าที่ในการสอบเทียบ (personnel) และวิธีการสอบเทียบ (method)
องค์ประกอบที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้การสอบเทียบมีความถูกต้อง แม่นยำ ด้วยเหตุผลดังต่ิอไปนี้
          1. การเลือกเครื่องมืิอมาตรฐาน ISO 10012-1 กล่าวไว้ว่า เครื่องมือมาตรฐานที่นำมาเพื่อ ให้เครื่องมือวัดอื่น ๆ ได้ใช้เปรียบเทียบ จะต้องมีความถูกต้องสูงกว่าึความถูกต้อง ของเครื่องมือที่รับการสอบเทียบ 3 เท่าขึ้นไป (ISO 10012) และที่สำคัญคือ เครื่องมือวัดนั้นจะต้องมีความสามารถสอบกลับได้ (traceability) สู่มาตรฐานการวัดแห่งชาติ หรือหน่วยมูลฐาน (SI Units)
          2. หัวใจสำคัญของการสอบเทียบที่ขาดไม่ได้คือ การสอบกลับได้ผลการวัด เนื่องจากจะเป็นสิ่งแสดงถึงลำดับความสัมพันธ์ที่จะทำให้การสอบเทียบเครื่องมือบรรลุผล โดยการใช้มาตรฐานที่มีความถูกต้องสูงกว่า นั่นหมายความว่าผลของการวัดจะต้องสามาุรถ แสดงถึงการส่งต่ิอความถูกต้องของการวัดที่ยอมรับได้ ถ่ายทอดผ่านห้ิองปฏิบัติการหลายระดับ จนถึงผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
          3. การควบคุมสภาวะแวดล้อมห้องปฏิบัติการให้มีความเหมาะสม ทั้งในด้านอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และการสั่นสะเทือน จะส่งผลต่ิอประสิทธิภาพและความถูกต้องของการสอบเทียบ
          4. ความสามารถของบุคลากร จะต้องได้รับการศึกษา ฝึกอบรม และสั่งสมประสบการณ์ ในเกณฑ์ที่จะสามารถให้ผลการสอบเทียบที่ถูกต้องได้ เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้จะต้องทำหน้าที่ ในการสอบเทียบรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมินความไม่แน่นอนของการวัด
          5. การเลือกใข้วิธีการที่เหมาะสม เพราะการเลือกวิธีการสอบเทียบที่เหมาะสม จะทำให้ได้ความถูกต้องของการตรวจสอบเทียบที่ต้องการ รวมทั้งมีความสะดวกและค่าใช้จ่ายต่ำ ปัจจุบันมีวิธีการสอบเทียบมากมาย เช่นวิธีการสอบเทียบตามมารตฐาน ISO, ASTM, DIN และ JIS เป็นต้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ "MORE INFO" และสามารถเลือกตั้งค่ายินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “ACCEPT”